Recent Posts

Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
51
ทำความเข้าใจกับ ค่าย Nikon ก่อนแล้วกัน เพราะค่ายอื่น ผมไม่ค่อยได้ยืมของใครใช้...
เรื่องแรกที่คุณจะต้องรู้ คือ เลนส์ของ Nikon นั้นจะเรียกกันว่า NIKKOR (ค่ายอื่นมะเห็นมีชื่อแยก)
AF, AF-S, G, VR, DX, N พวกนี้คืออะไร?  มันคือ 'ตัวอักษรย่อ' ที่สื่อความหมายของอุปกรณ์ของ Nikon ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

เอาสั้นๆ ก่อนละกัน เด๋วค่อยทำความเข้าใจกันต่อ

AF-S คือระบบ auto focus ที่มีมอเตอร์อยู่ที่เลนส์
AF คือระบบ auto focus ที่ไม่มีมอเตอร์อยู่ที่เลนส์
DX คือเลนส์ตัวคูณ
D   (Distance information) เลนส์รุ่นนี้จะมีค่ารูรับแสงที่กระบอกเลนส์
G   (G-type Nikkor lens ) เลนส์รุ่นนี้จะไม่มีค่ารูรับแสงที่กระบอกเลนส์

ED หมายถึงเลนส์ที่มีชิ้นเลนส์ ED เพื่อแก้ความคลาดสีครับ
IF หมายถึงเลนส์ที่มีการโฟกัสในตัวเลนส์ จะไม่มีการหมุนหรือยื่นไปยื่นมาที่ตัวเลนส์ด้านนอกครับ มันจะทำงานอยู่ข้างใน
DX เป็นเลนส์ที่ทำมาสำหรับกล้องตัวคูณ ถ้าเอาไปใส่กล้อง Full Frame มันจะถูกครอป
Micro หมายถึงเลนส์มาโครนั่นแหละครับ
DC คือ Defocusing Control ครับมีในเลนส์พอร์ทเทรตอย่าง 135 DC หรือ 105 DC
52
Nikon AF-S DX VR Micro 85 mm f/3.5G

เห็นตัวย่อ ต่างๆ เกี่ยวกัเลนส์แล้ว ปวดหัว ถึงขึ้นงงกันไหมครับ ว่า แต่ละตัว มันคืออะไรกันบ้าง..
ผมงงประจำ..
ใช้ google ค้นดูบ้าง ถามเพื่อนดูบ้าง..แล้วสักพักก็กลับมางงอีก..
รวบรวมไว้ซะเลยดีกว่า จะได้ไม่ต้องวิ่งหาหลายรอบ
54
ขอบคุณทุกท่านที่ เข้ามาอ่าน และขออภัย คุณ Joel**  ที่ไม่ได้ ขออนุญาต หรือแจ้งให้ท่านทราบ เนื่องจากบทความนี้เป็นคลังกระทู้เก่า ปิดกระทู้ไปแล้ว
55
ประการสุดท้ายที่จะแนะนำ(จริงๆ ที่คุณ Joel** เขียนไว้ในพันทิพย์ มีละเอียดกว่าอีก แต่เอาคร่าว ๆ นะ เด๋วไปถึงแล้วไม่รู้จะดูอะไรดี)
ตรวจดูว่าเลนส์ที่จะซื้อมีอะไรมาให้บ้าง

เช่น คู่มือ, ฝาปิดหน้า, ฝาปิดหลัง, กล่องใส่เลนส์ เป็นอย่างน้อย

เลนส์บางรุ่นจะมีของแถมมาให้ในกล่องครบชุดให้ด้วยเช่น ฮูดกระบังแสง, กระเป๋าใส่เลนส์, หรือแม้แต่ฟิลเตอร์ ครับ

วิธีตรวจสอบที่ดีที่สุดก่อนจะนัดดูเลนส์มือสองก็คือไปที่ร้านขายกล้อง/เลนส์แล้วขอดูเลนส์ อันใหม่ รุ่นเดียวกันกับที่จะซื้อมือสองที่หมายตาไว้ครับ

พอได้ลองจับของใหม่แล้วก็จะทราบได้เองว่า ของมือสองที่ตั้งใจจะซื้อนั้นควรมีหน้าตาอย่างไร
ทำงานได้แบบไหน ในกล่องมีอะไรมาให้บ้างครับ
56
4. ตรวจสอบสภาพเขี้ยวล็อก
จะให้ดีควรมีกล้องของเราไปทดสอบนะครับ

เลนส์ที่ดีสภาพสวยๆก็ควรมีเขี้ยวล้อคสวยๆด้วยครับ
เพราะหากเขี้ยวล้อคเลนส์หลวมคลอน ก็จะยึดกับกล้องได้ไม่แน่น
ดังนั้นให้หาหรือเอากล้องที่ใช้ด้วยไปลองด้วยครับ ว่าใส่แล้วแนบสนิทกับบอร์ดี้ดี
ช่องว่างเสมอหน้าแปลนกล้องไม่เบี้ยว ไม่ขยับได้ครับ

เลนส์ผ่านการใช้งานมาสมควร สีดำเคลือบหลุดลอกออกไปบ้าง
แต่เลนส์ใช้งานมาบ้าง มักจะดีกว่าเลนส์เก็บไม่ค่อยใช้งานครับ
57
6.ตรวจดูสภาพภายนอกของเลนส์
จากนั้นก็ตรวจดูสภาพภายนอกอื่นๆเช่น
1. ร่องเกลียวฟิลเตอร์หน้าเลนส์ว่ายังใช้ได้ เกลียวไม่หวานรูด จนใส่ฟิลเตอร์ไม่ได้
2. ตัวหนังสือ เครื่องหมายต่างๆไม่เลอะเลือน
3. เขย่าเลนส์แล้ว ไม่มีเสียงดังกุกกักอยู่ข้างใน
4. ลองปรับโฟกัสแล้ว สเกลบอกระยะทางตรงกันกับที่เขียนบอกไว้ข้างกระบอกเลนส์
5. หากมีคอลล่าร์ รูเกลียวใส่ขาตั้งใต้คอลล่าร์เกลียวสะอาดไม่หวานรูด
6. หากคอลล่าร์มีน้อตปรับตำแหน่งกล้องเป็นแนวตั้งได้ น้อตยึดก็สามารถจับกระบอกเลนส์ได้แน่ ไม่หวานรูดครับ
7. แหวนปรับซูม/โฟกัสหมุนได้คล่อง ไม่สะดุดหมุนเกินจนเลยสุดระยะโฟกัสไปมากนัก
8. แหวนซูมและแหวนโฟกัสไม่เลื่อนหน้าถอยหลัง (ยกเว้นเลนส์ซูฒแบบแหวนเดี่ยว)
9. ขอบยางต่างๆ ตะเข็บไม่ปริแตก หรือ ลอก และลายพิมพ์บนยางยังมีสันคมอยู่ครับ
10. สีเลือนลางไปตามการใช้งานได้ครับ แต่ไม่ควรมีรอยบุบ หรือ ถลอกครับ
58
5.ตรวจดูเลนส์ว่าเคยโดนถอดมาหรือไม่
วิธีตรวจดูก็เอานิ้วลูบที่หัวสกรูกากบาทท้ายเลนส์ครับ
เลนส์ซิงๆ ควรจะราบเรียบไม่สะดุดระคายนิ้ว
หัวสะอาด ความลึกฝังจมลงไปเท่าๆกันทุกหัว
59
4. เชคกลไกของเลนส์   (เป็นเทคนิคขึ้นสูงหน่อยนะครับ รู้ไว้หน่อยก็ดี เช็คไม่เช็คอีกเรื่องหนึ่ง)
หากเป็นเลนส์ nikon รุ่นที่ยังมีแหวนปรับรูหน้ากล้องอยู่ท้ายเลนส์ก็ตรวจดูตรงจุดเหล่านี้น่ะครับ
1. สวิชท์ L สำหรับล้อคค่ารูหน้ากล้องที่แคบที่สุด ทำงานได้คล่องไม่ติดขัด
2. สวิชท์ L สำหรับล้อคค่ารูหน้ากล้องที่แคบที่สุด จะทำงานได้ก็ต้องเมื่อเปิดรูหน้ากล้องที่แคบที่สุดของเลนส์เท่านั้น จะใช้กับค่ารูหน้ากล้องอื่นไม่ได้ครับ
3. หรี่รูหน้ากล้องแคบสุดแล้ว สวิชท์ L จะไม่ขยับอีก

4. ส่องดูในเลนส์ว่ารูหน้ากล้องปิดแคบสุดจริง (แต่รูจะต้องไม่ปิดสนิท ต้องเหลือนิดหน่อย)
5. ดูกลีบใบจักรปิดรูหน้ากล้องว่าสะอาดไม่มีคราบสนิมหรือ น้ำมันจับหรือรอยขีดข่วน
6. ลองปลดล้อค สวิชท์ L แล้วค่อยๆหมุนแหวนเปิดรูหน้ากล้องที่ละคลิกสต้อป แต่ละสต้อปต้องหยุดแบบนิ่งกึก ไม่คลอนแคลน
7. ส่องดูในเลนส์ทีละสต้อปว่า รูหน้ากล้องที่ค่อยๆเปิดได้สมมาตรสม่ำเสมอเป็นวงสวยไม่มีติดเป็นขยัก
8. ทำแบบเดียวกันนี้ ซัก 2 ครั้ง ครับ
60
3. ดูโคทติ้ง  หรือการเคลือบผิวเลนส์

วิธีดูก็ให้ตั้งเลนส์ตรงๆกับที่สว่างๆ แล้วเอียงเส้นสายตาให้ทำมุมประมาณ 45 องศาเฉียงกับหน้า
ดูแสงสะท้อนที่ออกมาจากผิวเลนส์
ดูว่าเฉด หรือ เหลือบสี ทั่วทั้งผิวหน้าเลนส์
สะท้อน ออกมาสม่ำเสมอ ดีหรือไม่ ครับ
Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10