Author Topic: ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower)  (Read 6640 times)

Offline Phoenix

  • Administrator
  • เซียน
  • *****
  • Posts: 1551
มีใครชอบดูฝนดาวตกกันบ้าง...
ช่วงวันที่ 7 – 17 ธันวาคม 2553
จะมีฝนดาวตกที่น่าสนใจกลุ่มหนึ่ง
ภาพแสดงบริเวณศูนย์กลางการกระจาย(Radiant) ของฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) ในกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) จากโปรแกรม Stellarium


         สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญชวนคนไทยชม ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) หรือฝนดาวตกคนคู่ จะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า
         ฝนดาวตกเจมินิดส์เป็นเศษซากของดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon)  ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เข้าใกล้โลกและเวลาที่โคจรเข้ามาใกล้โลกจะทิ้งเศษที่ เป็นฝุ่นของแข็ง น้ำแข็ง จำนวนมากมายไว้ เศษฝุ่นที่เป็นเศษหลงเหลือจากดาวเคราะห์น้อยเหล่านั้น จะตกเข้ามาในบรรยากาศของโลกซึ่งเมื่อเข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศของโลกก็จะทำ ให้เกิดแสงสว่างขึ้น โดยศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตก (Radiant) เจมินิดส์อยู่ระหว่างดาวคาสเตอร์ (Castor) และพอลลักซ์ (Pollux) ในกลุ่มดาวคนคู่ โดยจะขึ้นจากขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจะเห็นฝนดาวตกได้ในช่วงวันที่ 7 – 17 ธันวาคม 2553 และจะเริ่มสังเกตเห็นมากที่สุดตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของคืนวันที่ 13 จนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ตามเวลาประเทศไทย คาดว่าจะเห็นปริมาณฝนดาวตกโดยเฉลี่ยประมาณ 120 ดวงต่อชั่วโมง
ตามองดาว เท้าย่ำโคลน

Offline Phoenix

  • Administrator
  • เซียน
  • *****
  • Posts: 1551
Re: ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower)
« Reply #1 on: December 03, 2010, 08:51:27 AM »
ข้อมูลทั่วไปของฝนดาวตกเจมินิดส์
    ดาวเคราะห์น้อย : 3200 เฟธอน (3200 Phaethon)
    ศูนย์กลางการกระจาย : กลุ่มดาวคนคู่
    ช่วงเวลาการเกิด : 7 – 17 ธันวาคม 2553
    ช่วงเวลาที่เกิดมากที่สุด : 13 - 14 ธันวาคม 2553
    จำนวนดาวหาง ณ ช่วงเวลาที่เกิดมากที่สุด : ประมาณ 120  ดวงต่อชั่วโมง
    เวลาที่เหมาะสมแก่การสังเกต : หลังจากดวงจันทร์ได้ลับขอบฟ้าไปแล้วตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของคืนวันที่ 13 จนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธันวาคม 2553
    ความเร็วของลูกไฟ :  35 กิโลเมตร/วินาที


ข้อมูลอ้างอิง
     http://imo.net/calendar/2010#gem
     http://en.wikipedia.org/wiki/3200_Phaethon       
     http://www.skyandtelescope.com/observing/highlights/80291152.html


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
www.narit.or.th
ตามองดาว เท้าย่ำโคลน